ปลาสวย น้ำใส
  เมนูหลัก
    เรื่องน่ารู้
    ชนิดปลาสวยงาม
    โรคและการดูแลรักษา
    เกี่ยวกับเรา
    Webbord
       


โรคและการดูแลรักษา

        โรคที่เกิดขึ้นเสมอๆ กับปลาสวยงามที่เลี้ยงในน้ำจืดนั้นสามารถแบ่งออกตามกลุ่ม
ของเชื้อโรคได้  4  กลุ่ม ด้วยกัน  คือ


1.โรคโปรโตซัว
       ลักษณะอาการ   ปลาที่ป่วยมีลักษณะครีบเปื่อย หรือกางออกไม่เต็มที่ ผิวตัวซีดและมีลักษณะคล้ายผิวถลอก  หรือตกเลือดเป็นแห่งๆ การว่ายน้ำของปลาผิดปกติ โดยว่ายน้ำแฉลบเอาข้างตัวถูกับพื้นก้นตู้
พื้นอ่างหรือก้อนหินใน ตู้ปลา  บางครั้งปลาอาจจะมีจุดขาวตามลำตัวและครีบ
       สาเหตุของโรค   เกิดจากเชื้อโปรโตซัวจำพวกเห็บระฆัง(Trichodina)  เชื้ออิ๊ก
(Ichthyophthirius)  เชื้อไซพริเดีย(Scyphidia)  เชื้อเอพีโอโซมา (Apiosoma)
        การรักษา   ใช้น้ำยาฟอร์มาลีนแช่ปลาในตู้อัตรา 25-30 พีพีเอ็ม(2.5-3.0ซีซี/น้ำ 100  ลิตร)แช่ไว้นาน 23 วันเพียงครั้งเดียวแต่ถ้าปลาป่วยเป็นโรคจุดขาว(โรคอิ๊ก) จะต้องใส่น้ำยา
ฟอร์มาลีนซ้ำอีก 23 ครั้งหลังจากการเปลี่ยนน้ำในอัตราความเข้มข้นเท่าเดิม  โดยทำห่างกัน
ครั้งละ 2-3 วัน

2.โรคปลิงใส
     ลักษณะอากาปลาที่ติดปรสิตปลิงใสจะมีอาการซึม เบื่ออาหารและมีการว่ายน้ำแฉลบ
เอาข้างตัวถูกับพื้นตู้เป็น ครั้งคราว  ครีบของปลาโดยทั่วไปยังมีลักษณะปกติ
     ลักษณะของโรค  เกิดจากปรสิตปลิงใส (
Monogene)
     การรักษา  ใช้น้ำยาฟอร์มาลีนแช่ปลาในตู้ในอัตรา 40-45 พีพีเอ็ม(4.0-4.5ซีซี/น้ำ 100  ลิตร)แช่ไว้นาน 2-3 วันถ้าเป็นปลาขนาดเล็กให้ดูแลปลาอย่างใกล้ชิดใน 1-2ชั่วโมงแรกหลังใส่สารเคม
เพราะปลาที่เล็กมาก อาจจะทนต่อพิษของฟอร์มาลีนไม่ไหว  ถ้าพบลูกปลามีอาการเมายา
ให้รีบเปลี่ยนน้ำครึ่งหนึ่งทันที

3.โรคแบคทีเรีย
     ลักษณะอาการ  ปลาที่ป่วยจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอาการรวมกันคือ
มีแผลตกเลือดตามลำตัว ครีบบริเวณท้องและช่องขับถ่ายตาของปลาอาจจะมีอาการบวม
และตกเลือดท้องและลำตัวปลามีอาการ บอบช้ำและมักจะพบอาการเกล็ดตั้ง หรือตัวด่าง
     สาเหตุของโรค  เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย  ได้แก่  เชื้อแอร์โรโทแนส ซูโดโมแนส 
และคอรัมนาริส
     การรักษา  ใช้แช่ปลาที่เป็นโรคด้วยยาปฏิชีวนะ ในอัตรา 10-20 พีพีเอ็ม(1-2 กรัม/ น้ำ 100 ลิตร)แช่นนาน 2 วัน แล้วเปลี่ยนน้ำใหม่และแช่ยาซ้ำอีก 34ครั้ง สำหรับปลาที่มีอาการ
ตัวด่างรักษาโดยการแช่ปลา ด้วยด่างทับทิม1-5พีพีเอ็ม(1-5 กรัม/น้ำ 1,000 ลิตร)หรือเกลือ 0.5%(5 กก. / น้ำ 1,000 ลิตร) นาน 3 วัน และควรแช่ซ้ำอีก 2-3 ครั้ง

4.โรคเชื้อรา
     ลักษณะอาการ  ปลาที่ป่วยจากเชื้อราจะมีอาการอ่อนแอการเคลื่อนไหวลดลงและบริเวณที่ติดเชื้อ
จะมีเส้นใย ของเชื้อราปกคลุมมองเห็นได้ชัดเจน
     สาเหตุของโรค  เกิดจากเชื้อราหลายสกุลด้วยกัน  เช่น  Aphanomyces  และ  Achlya  เป็นต้น
  และมักจะเกิด กับปลาที่บอบช้ำหรือมีแผล
     การรักษา  ให้แช่ปลาป่วยด้วยสารเคมีมาลาไคท์กรีนในอัตรา  0.1  พีพีเอ็ม หรือ 0.1 กรัม
ต่อน้ำในตู้ 1,000 ลิตร  แช่นาน 3 วัน  ต่อการรักษา 1 ครั้ง  ถ้าปลายังไม่หายป่วยให้รักษาซ้ำอีกครั้ง (มาลาไคท์กรียนเป็นสารอันตรายเวลา ใช้ต้องระมัดระวังอย่าให้สัมผัสร่างกายผู้ใช้)

http://suphamas.tripod.com